ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ( Constructivist theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ มีพัฒนาการมาจากปรัชญาปฏิบัตินิยม (pragmatism)
ที่นำโดย (james) และดิวอี้ (Dewey) ในต้นศวรรษที่ 20 และการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์เกี่ยวกับวิธีการหาความรู้ในปรัชญาวิทยาศาสตร์
(philosophy of science) นำโดยปอปเปอร์ (poper) และเฟเยอราเบนด์ (Feyerabend) ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่
20 จากการบุกเบิกของนักจิตวิทยาคนสำคัญ ๆ เช่น เพียเจต์ (piaget) ออซูเบล (Ausubel) และ เคลลี่ (Kelly) และพัฒนาต่อมาโดยนักการศึกษากลุ่มคอนสตรัติวิสต์ (the
constructivists) เช่น ไดรเวอร์ (Driver) เบล
(Bell) คามี (Kamil) นอดดิงส์ (Noddings)
วอน เกลเซอร์สเฟลด์ (Von Glasersfeld) เฮนเอร์สัน
(Henderson) และอันเดอร์ฮิล (Underhill) เป็นต้น (ไพจิตร สดวกการ, อ้างถึงใน สุมาลี ชัยเจริญ,
2547)
ตวงรัตน์
(2549) กล่าวถึง ทฤษฎี การเรียนรู้ ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีพรรณา(Descriptive)
คือ อธิบายจากการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
แต่ไม่ได้เป็นทฤษฎีกำหนด (prescriptive) เช่น
กำหนดหรือแนะนำว่าต้องใช้วิธีการเรียนการสอนอย่างไรในการเรียนรู้นั้น Smith
& Ragan (1992,อ้างถึงใน ตวงรัตน์
ศรีวงษ์คล,2549) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้หลัก ๆ มี 2 ทฤษฎี
ที่มีอำนาจต่อกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน คือ Behavioral Learning
Theory (ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม) และ Cognitive Learning Theories
(ทฤษฎีปัญญานิยม)
แต่ในปัจจุบันกล่าวว่ามีทฤษฎีการเรียนรู้อีกทฤษฎีหนึ่งที่เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากก็คือ
Constructivist Learning theory ในช่วง 20
ปีที่ผ่านมาได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เน้นการศึกษา
ปัจจัยภายนอกมาเป็นสิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด
กระบวนการคิด(Cognitive Processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ซึ่งข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับความคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)
หรือเรียกข้อแตกต่างกันไปได้แก่ สร้างสรรค์ความรู้นิยม
หรือสรรสร้างความรู้นิยม หรือการสร้างความรู้ (สุมาลี ชัยเจริญ, 2548)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น