วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

Inforgraphic




การทํา drag and drop ใน flash

1. สร้างเอกสารใหม่ขึ้นมาขนาดใดก็ได้
2. ใช้เครื่องมือ Oval Tool วาดรูปวงกลมลงไปใน stage ดังรูป
3. คลิกขวาที่วงกลมที่สร้างขึ้นมา เลือก Convert to Symbol...
4. เลือกชนิดของ Symbol เป็นแบบ Button และตั้งชื่อว่า circle
5. หลังจากนั้นให้คลิกขวาที่ปุ่มที่เราสร้างขึ้นมา แล้วเลือก Action
6. ใส่ Action Script ลงไปดังนี้
on(press) {
startDrag(this,false);
}
on(release) {
stopDrag();
}


7. กด Ctrl + Enter เพื่อทดสอบ (ทดสอบโดยการคลิกที่วงกลมแล้วลองลากไปมา)



เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์

เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์


วิชาคอมพิวเตอร์จัดได้ว่าเป็นวิชาการที่ค่อนข้างใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่น ๆ ที่ปรากฎในหลักสูตรการเรียนการสอนในแทบทุกระดับชั้น ดังนั้นวิชาคอมพิวเตอร์จึงเป็นวิชาที่ยังขาดกระบวนวิธีในการสอนเป็นการเฉพาะ ในขณะที่วิชาอื่น ๆ จะมีวิธีสอนเฉพาะของตนเอง เช่น วิธีการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิธีการสอนวิชาภาษาไทย หรือวิธีการสอนวิชาสังคมศึกษา เป็นต้น ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีผู้พัฒนาทรัยากรช่วยสอนวิชาคอมพิวเตอร์ออกมามากมาย อาทิเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น แต่ถึงกระนั้น กระบวนการสอนที่เป็นวิธีการ (Activity) ก็ยังไม่ค่อยมีใครพัฒนาขึ้นมา จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการสอนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะพบว่ามีเว็บเพจที่พูดถึงวิธีสอนวิชาคอมพิวเตอร์น้อยมาก ผู้เขียนจึงเห็นว่าพวกเรา(ครูสอนคอมพิวเตอร์) ทั้งหลายน่าจะมาช่วยกันนำเสนอแนวคิดและเทคนิควิธีสอนจากประสบการณ์ของตนเอง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งพัฒนาการในการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยต่อไป 


การสอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ 1. การสอนวิชาเชิงทฤษฎีคอมพิวเตอร์ เช่น วิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์ วิชาระบบฐานข้อมูล หรือ วิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2. การสอนวิชาการเขียนโปรแกรม เช่น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่าง ๆ หรือการสร้างโปรแกรมด้วยเครื่องมือกึ่งสำเร็จรูป ( Middle Ware) ทั้งหลาย เช่น โปรแกรม Visual Basic , Delphi หรือAuthorware เป็นต้น 3. การสอนวิชาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น วิชาการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ หรือวิชาการใช้โปรแกรมวาดและตบแต่งรูปภาพ เป็นต้น ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเทคนิควิธีสอนวิชาการใช้โปรแกรมประมวลผลคำ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 โดยจะเน้นเฉพาะเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน 
จากการที่ผู้เขียนได้พิจารณาการสอนของตนเอง และเพื่อนครูด้วยกัน มักพบว่า ครูจะมีวิธีนำเข้าสู่บทเรียน (การเริ่มต้นฝึกใช้โปรแกรม) อยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ 1. เริ่มสอนโดยการแนะนำให้นักเรียนรู้จักหน้าตาและเมนู รวมทั้งแนะนำเครื่องมือ (Toolbar) ต่าง ๆ บนโปรแกรมที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอให้ครบถ้วนก่อนแล้วจึงเริ่มต้นสอนขั้นต่อไป ซึ่งผู้เขียนขอเรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนแบบแนะนำ (Introduction method) ส่วนวิธีที่ 2 คือ ครูเริ่มสอนโดยการให้ผู้เรียนลองพิมพ์ข้อความสั้น ๆ ซัก 1 ประโยค ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เรียนมักชอบพิมพ์ชื่อของตนเองก่อน แล้วจึงสอนให้ผู้เรียนลองใช้คำสั่งในเมนูและเครื่องมือในแถบเครื่องมือมาบูรณาการ ปรับแต่งข้อความที่ตนเองพิมพ์ลงไปให้สวยงามถูกใจ ผู้เขียนเรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนแบบสร้างผลผลิต (Production Method) 
จากประสบการณ์การสอนของผู้เขียน พบว่าวิธีที่ 2 (Production Method) จะเป็นวิธีที่กระตุ้นและเร่งเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดีกว่าวิธีที่ 1 (Introduction Method) ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการสอนแบบสร้างผลผลิตนั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้และฝึกฝนในสิ่งที่มีความหมาย (Meaningfull Learning) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ข้อความที่อ่านออกมีความหมาย และสามารถใช้คำสั่งตบแต่งปรับปรุงข้อความนั้นได้ตามที่ต้องการเมื่อเริ่มหัดใช้โปรแกรม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยทางการศึกษาหลาย ๆ เรื่องที่กล่าวถึงวิธีสอนที่มีความหมาย จะได้ผลสัมฤทธิ์สูงกว่าวิธีสอนที่ไม่มีความหมาย และด้วยการถูกกระตุ้นอย่างมีความหมายเช่นนี้ จึงทำให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ต่อไปอีก ซึ่งทำให้ชั้นเรียนวิชาการใช้โปรแกรมประมวลผลคำมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ ส่วนวิธีนำเข้าสู่บทเรียนแบบแนะนำนั้น ผู้เขียนพบว่ามักจะทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย เนื่องจากต้องนั่งดูและฟังเฉย ๆ จนกว่าครูจะแนะนำส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมได้หมด นอกจากจะเป็นการเสียเวลาเปล่าแล้ว ยังทำให้ชั้นเรียนเกิดสภาวะเฉื่อยชา และบั่นทอนความสนใจของนักเรียนลงไปในที่สุด 
เทคนิควิธีการสอนที่นำเสนอในบทความนี้ ผู้เขียนหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ครูคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย แต่เหนือสิ่งอื่นได้ ผู้เขียนคาดหวังไว้ว่า อยากเห็นครูคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ออกมามีส่วนร่วมใน การพัฒนางานคอมพิวเตอร์ศึกษาของไทย ให้เจริญรุดหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถไต่ระดับขึ้นมาเป็นแถวหน้าของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกต่อไป… 

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

Smart Phone


Smart Phone
smartphone คืออะไร
smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้  เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OS Windows phone 7 และ Symbian Os  (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้
คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
1.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
2.สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น
ประโยชน์
 
 
 
                                            
ข้อมูล http://www.mindphp.com/

Tablet



Tablet                                                                         
แท็บเล็ท (Tablet)
       ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ
"แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
       ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค


ประโยชน์

1. ใช้แทนตำราเรียนได้ เป็นร้อย ๆ เล่ม ให้อยู่ในเครื่องเดียว
2. ใช้ในการบันทึกการเรียนการสอน สามารถจดบันทึกแบบลายมือเขียน ซึ่งจะเขียนลงไปบนจอภาพหรือว่าจะพิมพ์ข้อความลงไปในเครื่อง สามารถบันทึกเสียง ภาพอาจจะเป็นภาพนิ่งหรือ VDO เก็บไว้ดูตอนที่เราหรือนักเรียนลืมได้เป็นอย่างดี
3. สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ โดยเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายได้ (wifi) นักเรียนสามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ได้
4. สามารถใช้ Application เป็นสื่อการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือฝึกหัด เพื่อเสริมสร้างความรู้ต่าง ๆ ให้นักเรียน เช่น ภาพจาก website , clip VDO ต่าง ๆ
5. ใช้สื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ครู นักเรียนสามารถติดต่อกันได้ ส่งอีเมล์หากัน พูดคุยปรึกษากันได้ โดยใช้ Application ในเครื่อง

http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5282

Micro Computer



        Micro Computer
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้


คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ



แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม



โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน กับแล็ปท็อป



ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก

Mega Bit Per Second(Mbps)



       Mega Bit Per Second(Mbps)

Mbps คืออะไร
   Mbps หรือ Mbit/s ย่อมาจาก Megabit Per Second คือ หน่วยที่ใช้วัดอัตราความเร็วในการส่งหรือรับข้อมูลต่อ 1 วินาที ซึ่งหมายถึงหนึ่งล้านบิตต่อวินาที เป็นการวัด Bandwidth (การไหลรวมของสารสนเทศในเวลากำหนด) บนตัวกลางโทรคมนาคม ช่วงของ bandwidth ขึ้นกับตัวกลางและวิธีการส่ง ในบางครั้งวัดเป็น Kbps (พันบิต หรือ kilo bits ต่อวินาที) จนถึง Gbps (พันล้านบิต หรือ giga bits ต่อวินาที) ตัวอย่าง Mbps ที่มักพบเห็นได้บ่อย อย่างการวัดความเร็วอินเตอร์ เป็นต้น