ที่มา http://learn.wattano.ac.th/TCH/pipat/hard_soft.htm
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ความหมาย Hardware/Software
hardware และ software เป็นอย่างไร
HARDWARE
เมื่อเราแยกคำออกมาดูความหมาย Hard แปลว่า ของแข็ง ส่วน Ware แปลว่า
ผลิตภัณท์ ดังนั้นเมื่อนำมารวมกัน Hardware จึงหมายถึง
อุปกรณ์หรือผลิตภัณท์ที่เป็นของแข็ง ซึ่งได้แก่
ส่วนประกอบทุกชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออีกนัยหนึ่ง
คืออุปกรณ์ที่คุณจับต้องได้ ยกตัวอย่างเช่น จอภาพ ตัวเครื่อง คีย์บอร์ด
เม้าส์ เครื่องพิมพ์ โมเด็ม รวมทั้งชิ้นส่วนภายในตัวเครื่อง
SOFTWARE
เมื่อเราแยกคำออกมาดูความหมาย Soft แปลว่า นุ่มหรือนิ่ม ส่วน Ware แปลว่า
ผลิตภัณฑ์ แต่ Software ไม่ได้หมายถึงผลิตภัณฑ์ ที่มีความนุ่ม แต่หมายถึง
โปรแกรมหรือชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้
ทั้งนี้ซอร์ฟแวร์จะต้องบันทึกในสื่อใดสื่อหนึ่ง เช่น Harddisk, Diskkette,
CD เป็นต้น (บางครั้งผู้ใช้ก็เรียนซอร์ฟแวร์ว่า 'โปรแกรม')
สำหรับประเภทของซอร์ฟแวร์ แบ่งได้ เป็น
1. แอปพลิเคชั่น (Application)
คือ โปรแกรมการใช้งานต่าง ๆ เช่น MS Word, MS Excel, Photoshop เป็นต้น
โปรแกรมเหล่านี้จะทำงานได้จะต้องติดตั้งภายในระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เช่น DOS, Windows, Uniq, Linux เป็นต้น
2. ระบบปฏิบัติการ (Operating
System) เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นล่ามระหว่างคนกับเครื่องคอมฯ
ให้สามารถเข้าใจกัน และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น DOS,
Windows 3.1, Windows 95, Windows 98 หรือ Windows 2000 เป็นต้น
คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ จำเป็นจะต้องมีระบบปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ
จากที่ได้กล่าวถึง ระบบปฏิบัติการ
ว่า " คอมพิวเตอร์จะทำงานได้
จำเป็นจะต้องมีระบบปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ "
ซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็หนีไม่พ้น Windows
สำหรับระบบปฏิบัติการยังสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. Network OS
คือระบบปฏิบัติการด้านเครือข่าย ทำหน้าที่ในการจัดการ แบ่งปัน ควบคุม
ทรัพยากรของระบบ ซึ่งได้แก่ Novell Netware, Unix, Windows NT Server,
เป็นต้น
2. Stand Alone OS
คือระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่อง PC ที่ใช้ส่วนตัวทั่วไป
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ได้แก่ DOS, Windows, Windows 2000
professional,เป็นต้น
ที่มา http://learn.wattano.ac.th/TCH/pipat/hard_soft.htm
ที่มา http://learn.wattano.ac.th/TCH/pipat/hard_soft.htm
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น