วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์คอมพิวเตอร์ด้านการศึกษา


ประโยชน์คอมพิวเตอร์ด้านการศึกษ
        โดยหลักการแล้ว การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษาอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน
        การบริหารการศึกษาเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาจำนวนมาก หรือมีวิชาจำนวนมากที่เปิดให้นักศึกษาเลือกเรียนตามความถนัดและความต้องการ ดังนั้น ผู้บริหารการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดเตรียมงบประมาณ จัดเตรียมห้องเรียนได้ตามความต้องการ จัดครูหรืออาจารย์ผู้สอนได้ตามความถนัดของผู้สอน และมีชั่วโมงการสอนพอเหมาะทุกคน รวมทั้งการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในแต่ละสาขาวิชาเพื่อที่จะได้ทราบว่าในปีต่อๆ ไป ถ้าเราจะผลิตนักศึกษาเหล่านั้นจะต้องลงทุนอีกเท่าใด และถ้าเพิ่มจำนวนนักศึกษาขึ้นอีกจะมีผลทำให้ต้องเพิ่มบุคลากร อาคาร ห้องเรียนและงบประมาณเป็นเท่าใด นอกจากนี้ยังสามารถพิจารณาได้ว่า วิชาการประเภทใดบ้างที่นักศึกษาไม่ค่อยนิยมเรียนอาจจะต้องหาทางชี้แจงให้นัก ศึกษาเข้าใจ หรือพิจารณาปิดวิชาเหล่านั้น โดยทั่วไปแล้ว ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทางการบริหารการศึกษานั้น จะแบ่งข้อมูลออกเป็น ๕ ด้านคือ ด้านนักศึกษา ด้านแผนการเรียน  ด้านบุคลากร  ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์
          ข้อมูลด้านนักศึกษา เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของนักศึกษาว่า  เกิดเมื่อใด ที่ไหน ชื่อบิดามารดาอาชีพบิดามารดา เคยเรียนมาจากที่ไหนบ้าง เป็นต้นอีกส่วนหนึ่งเป็นประวัติการศึกษาในระหว่างศึกษาอยู่ ณ สถาบันนั้นๆ ว่าเคยลงทะเบียนเรียนวิชาอะไร ผลการศึกษาเป็นอย่างไรในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าวครบถ้วน ส่วนใหญ่เขาจะนิยมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานลงทะเบียน
          ข้อมูลด้านแผนการเรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับวิชาที่เปิดสอนว่าแต่ละวิชามีรหัสชื่อวิชา หน่วยกิต เวลาเรียน
และสอนที่ไหน  และวิธีการสอนเป็นบรรยายหรือปฏิบัติการเป็นต้น
          ข้อมูลด้านบุคลากร เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับครูผู้สอนว่ามีวุฒิอะไร มาจากที่ไหน เพศหญิงหรือเพศชาย สอนวิชาอะไรบ้าง  กำลังทำวิจัยหรือเขียนตำราเรื่องอะไร และเงินเดือนเท่าใด เป็นต้น
          ข้อมูลด้านการเงิน  เป็นข้อมูลที่สถานการศึกษานั้นได้รับเงินจากอะไรบ้าง ได้ใช้เงินเหล่านั้นแต่ละเดือนเท่าไรใช้ซื้ออะไรบ้าง และยังเหลือเงินอยู่เป็นจำนวนเท่าใด เป็นต้น
          ข้อมูลด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์  เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอาคาร ห้องแต่ละห้องเป็นห้องปฏิบัติการหรือห้องบรรยาย  ห้องพักนักศึกษา  ห้องทำงาน   ความจุของแต่ละห้องมีโต๊ะและเก้าอี้กี่ตัว ขนาดห้องกว้างและยาวเท่าใด และในแต่ละห้องมีอุปกรณ์เครื่องมืออะไรบ้าง เป็นต้น
          จากข้อมูลทั้ง ๕  ด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์นี้  ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วยในการตัดสินใจได้ เช่นอยากจะทราบว่า ผลการเรียนในแต่ละวิชามีการให้เกรดผู้สอบอย่างไร  คอมพิวเตอร์ก็สามารถวิเคราะห์ออกมาได้เพื่อใช้พิจารณาความยากง่ายของข้อสอบ หรือการให้คะแนนสอบเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน ถ้าต้องการทราบว่าใน
สถาน ศึกษาของตนเองสอนวิชาหนักไปทางไหนบ้าง ถ้าจะเพิ่มวิชาอีกจะมีอาจารย์ผู้มีความรู้ด้านนั้นๆ หรือไม่ ทางด้านอาคารสถานที่ก็สามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีการใช้ห้องเต็มที่หรือไม่ ถ้าเพิ่มนักศึกษาอีกจะมีปัญหาเรื่องอาคารเรียนอย่างไรบ้าง เป็นต้น
          การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการสอนนี้ มีผู้เกรงกลัวกันเป็นอันมากว่าจะทำให้ครูตกงาน แต่ตามความเป็นจริงแล้วคอมพิวเตอร์อาจช่วยครูทำงานบางอย่างได้ดีกว่าครู  แต่ก็มีงานหลายอย่างที่คอมพิวเตอร์ทำไม่ได้ ยังคงจำเป็นที่จะต้องให้ครูทำอยู่อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่คอมพิวเตอร์ช่วยทำได้ดีกว่าครูนั้นเป็นงานจำเจ ซึ่งครูเองคงไม่ตื่นเต้นสนใจ   หรือต้องการที่จะทำอยู่ตลอดไปนักฉะนั้น คอมพิวเตอร์จะช่วยให้ครูใช้ความรู้ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบ การศึกษาได้มากขึ้น
          เพื่อให้เข้าใจว่าคอมพิวเตอร์จะช่วยในการสอนได้อย่างไรนั้น สิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ศึกษาและพิจารณาระบบการศึกษาปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง จะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยได้หรือไม่ ข้อเสียที่สำคัญๆ ของระบบการศึกษาที่ยังไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนมีอยู่สองประการ คือ
             ๑. ความไม่ยืดหยุ่นของระบบ เมื่อพบว่าอะไร
ควรจะแก้ไขปรับปรุง   กว่าจะปรับปรุงเสร็จก็ใช้เวลานานมากอาจเป็นเวลา ๒-๓ ปี และเมื่อปรับปรุงเสร็จก็มักจะกล่าวว่าสิ่งที่ได้ปรับปรุงแล้วนั้นไม่เหมาะสม ไม่ทันต่อเหตุการณ์แล้ว จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงใหม่อีก
             ๒. ความไม่สามารถของระบบที่จะจัดให้นักเรียนแต่ละคนได้มีโอกาสเลือกเรียนได้ช้า หรือเรียนได้เร็วตามความชอบ ความเฉลียวฉลาดและความสามารถของเด็ก เช่น เด็กคนใดมีความชอบหรือมีความคล่องในวิชาใดเป็นพิเศษควรจะเรียนวิชานั้นให้ เข้าใจได้ในระยะเวลาอันสั้นและรวดเร็วกว่าเด็กคนอื่น แต่ในปัจจุบันเด็กทุกคนจะต้องมานั่งทนเรียนวิชานั้นไปจนสิ้นสุดภาคการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ให้ ซึ่งอาจจะทำให้เด็กคนนั้นเบื่อมาก จนอาจก่อกวนให้เด็กคนอื่นเสียการเรียนไปด้วย
         ข้อเสียทั้งสองประการข้างบนนี้ พอจะมีทางแก้ไขได้ไม่ยากนัก โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดีเต็มที่ จะต้องใช้คอมพิวเตอร์แบบที่ใช้พร้อมๆ กันได้หลายสิบคนให้ทั้งเด็กและครูแต่ละคน และทุกคนมีโอกาสได้ใช้คอมพิวเตอร์เมื่อใดก็ได้เท่าที่เขาต้องการ คอมพิวเตอร์จะต้องเก็บข้อมูลทั้งหมดของเด็กและ ครูทุกคนโดยละเอียดว่าเด็กคนไหนเรียนวิชาอะไรถึงไหน มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไร ครูคนไหนมีหน้าที่ดูแลเด็กคนไหน   สนใจขอดูรายงานเกี่ยวกับเด็กในความดูแลของตนเพียงพอหรือไม่ ถ้าครูอยากทราบผลการเรียนของเด็ก  ก็อาจถามคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์จะแสดงรายงานให้อ่านบนจอโทรทัศน์ได้ทันที หรือถ้าต้องการรายงานเป็นหลักฐาน คอมพิวเตอร์ก็พิมพ์ออกมาให้ได้  ประโยชน์สำคัญที่สุดก็คือ  เด็กแต่ละคนจะมีโอกาสได้ศึกษาวิชาที่สนใจตามอัตราช้าเร็วตามความต้องการของ ตน ถ้าเด็กคนไหนสนใจวิชาใดมาก จะเรียนติดต่อกันให้จบในสัปดาห์เดียวก็ได้ ถ้าสนใจจะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนั้น  คอมพิวเตอร์ก็ช่วยแนะนำหนังสืออ่านประกอบต่อไปได้ ถ้าเด็กคนไหนไม่ชอบวิชานั้นนักเรียนเป็นเวลาหลายเดือนก็ไม่ได้ผล   คอมพิวเตอร์ก็จะช่วยหาวิธีสอนแบบต่างๆ เช่น เรียนโดยการเล่น เป็นต้น คุณภาพของระบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ จะมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น  ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบระบบ และแต่งตำราสำหรับระบบโดยตรง ซึ่งอาจใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายด้านหลายคนช่วยกันได้
          โดยสรุปแล้วการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน อาจได้ประโยชน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
            ๑. คอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงจุดเริ่มต้นและจังหวะช้าเร็วของการเรียนการสอน ให้เข้ากับนักเรียนแต่ละคนและทุกๆ คนได้ทันทีทันใด
            ๒. งานซ้ำซากที่ครูไม่อยากทำและไม่น่าจะต้องทำ เช่น จัดทำตารางสอบ รวมคะแนนสอบ จัดลำดับคะแนน คำนวณหาคะแนนเฉลี่ย ครูก็จะไม่ต้องทำ เพราะให้คอมพิวเตอร์ทำแทนได้
            ๓. ครูมีเวลาเอาใจใส่ ช่วยแนะนำแก้ปัญหาด้านจิตใจ ด้านครอบครัว ให้เด็กได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
            ๔. คอมพิวเตอร์สามารถเก็บประวัติผลการเรียน
ของ เด็กทุกคน  ทุกวิชา ได้อย่างละเอียดมากกว่าที่ครูจะจำได้หมด และคอมพิวเตอร์สามารถเสนอรายงานด้านต่างๆเกี่ยวกับเด็กแต่ละคนให้ครูได้ใช้ ประกอบการตัดสินใจได้รวดเร็วทันใจกว่าที่ครูจะให้เลขานุการช่วยค้น หรือที่ครูจะลงมือทำประวัติเหล่านั้นด้วยตนเอง
            ๕. เด็กสามารถเลือกเรียนวิชาที่ตนสนใจได้ แม้ว่าโรงเรียนที่เด็กอยู่นั้น จะไม่มีครูที่มีความรู้ความสามารถจะสอนวิชานั้นๆ ได้
            ๖. เราสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้  ได้ง่ายกว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของครู เพราะเครื่องไม่มีความรู้สึกว่าจะเสียเหลี่ยมที่จะต้องยอมรับว่า  อะไรที่เคยทำอยู่แล้วนั้นไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบัน จำเป็นต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
            ๗. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน
อาจจะทำให้ทั้งเด็กและครูเข้าใจความเกี่ยวข้องของวิชาต่างๆมากขึ้น
            ๘. การให้เด็กได้รู้จักการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยังอยู่ในโรงเรียน  จะเป็นการเตรียมให้เด็กไม่กลัวการใช้คอมพิวเตอร์เมื่อจบการศึกษาไปแล้ว  เพราะในอนาคตนั้นงานทางด้านรัฐบาลและเอกชนก็จะต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนั้น
          ข้อเสียของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอนก็คือ ค่าใช้จ่ายสูง ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการศึกษาและด้านคอมพิวเตอร์ ต้องลงแรงใจในการออกแบบระบบมากกว่าการเขียนตำราธรรมดา
         สำหรับประเทศเรานั้น ถ้าจะไปซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งชุดคำสั่งสำหรับช่วยในการเรียนการส อน และจ้างผู้เชี่ยวชาญมาจากต่างประเทศ ก็จะสิ้นเปลืองงบประมาณมากกว่าที่ประเทศชาติจะสามารถจัดสรรให้ได้ ฉะนั้นเราจึงควรต้องใช้วิธีแบบไทยๆ ของเรา คือ ใช้ของไทยและคนไทยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษามีผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และสามารถสร้างเครื่องโทรทัศน์  เครื่องพิมพ์ดีด ที่จะใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ในราคาถูก หรืออีกวิธีหนึ่ง ควรพยายามปรับปรุงแก้ไขระบบการ
ใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของเรา คือ  ใช้เครื่องให้น้อยใช้คนให้มาก ซึ่งก็คงจะไม่ง่ายนัก แต่ก็น่าจะทำได้ ถ้ามีการระดมความคิดมาช่วยงานด้านนี้

ที่มา http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2053&

ประวัติและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์

ประวัติและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร

คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525
คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก จะเป็นลักษณะเครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณ โดยที่ยังไม่มีการนำวงจรอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย เมื่อ 5,000 ปีที่ผ่านมามนุษย์ได้พยายามคิดค้นเครื่องมือที่ใช้ทำงาน และผ่อนแรง ตลอดจนให้ความสะดวกแก่ตนเองและผู้อื่่น เช่น ในการนับจำนวนเลข มนุษยในสมัยโบราณรูจัก ใช้นิ้วมือ ในการนับ และใช้วิธีตา่ง ๆ เช่น ใช้รอยขีด ก้อนหิน หรือแท่งไม้ เพื่อนับจำนวนสมาชิกในครอบครัวหรือนับจำนวนสัตว์ที่ล่ามาได้
ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึง ปัจจุบัน

59021
ลูกคิด ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของเครื่องมือคำนวณ

พ.ศ. 2158 John Napier นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณ เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้สามารถทำการคูณและหารได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง

59022
Napier's Bones

พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง

59023
เครื่องมือในการคำนวณของ Pascal

พ.ศ. 2216 นักปราชญ์ชาวเยอรมันชื่อGottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถหารคูณและหารได้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหารก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่อง ที่ง่ายขึ้น

59024
เครื่องมือคำนวณของ Leibnitz

พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก

59026
เครื่องทอผ้าใช้บัตรเจาะรู

พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึง เครื่องมือในการคำนวณที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คือเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
1.ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
2.ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
3.ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
4.ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ

59053
เครื่อง Alaytical Engine

เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆของเครื่อง Alaytical Engineมีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถสร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว
อีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ในปีพ.ศ. 2385 ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็นบิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์

59066
Charles Babbageบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์

พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้ใช้หลักพีชคณิตเผยแพร่กฎของ Boolean Algebra ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายเหตุผลของตรรกวิทยาที่ตัวแปรมีค่าได้เพียง "จริง" หรือ "เท็จ" เท่านั้น (ใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 0 กับ 1 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกพื้นฐาน คือ AND,ORและNOT)
สิ่งที่ George Boole คิดค้นขึ้น นับว่ามีประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น การยากที่จะใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งมีเพียง 2 สภาวะ คือ เปิด กับ ปิด ในการแทน เลขฐานสิบซึ่งมีอยู่ถึง 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 แต่เป็นการง่ายกว่าเราแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 จึงถือว่าสิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน

59068
George Boole
 

ส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์
  เมนบอร์ด (Mainboard) หมายถึง แผงวงจรหลัก ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย แต่ส่วนที่สำคัญคือ
                   •       ชิปเซ็ต(Chipset) คอยทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์
                   •       บัส (Bus) ที่เป็นเส้นทางเดินของข้อมูล
                   •       สล็อต(Slot) เป็นช่องที่ใช้เสียบการ์ดต่าง ๆ                         
                   •       ซ็อคเก็ต (Socket) เป็นช่องที่ใช้ติดตั้งซีพียู
                   •       ฯ ล ฯ                                                   MainBoard_1.jpg 
    ซีพียู (CPU) เป็นส่วนที่เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ เป็นที่ติดตั้งอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ เช่น เมนบอร์ด เพาเวอร์ซัพพลาย ตลอดจนการ์ดต่างๆ เป็นต้น
Cpu_1.jpg
   แรม (RAM) เป็นหน่วยความจำหลัก ทำหน้าที่จดจำข้อมูลในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงาน แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไป   ดังนั้นหากมีงานใดที่สำคัญต้องการเก็บบันทึกไว้ใช้ในคราวต่อไป จะต้องจัดเก็บหรือบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ไว้ใน หน่วยความจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปี้ดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น
 Ram.jpg
   ฮาร์ดดิสก์ (Mouse) เป็นหน่วยความจำรอง ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไฟล์งานที่ทำจากโปรแกรมต่าง ๆ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ภาพยนต์ ไฟล์เพลง MP3 เป็นต้น เนื่องจากมีความจุข้อมูล 40-80 กิกะไบต์ ซึ่งถือว่ามากกว่าสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่น ๆ  Hd.jpgHdd.jpg
   ฟลอปปี้ดิสก์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและเก็บบันทึกข้อมูลขนาดเล็กที่อยู่ในแผ่นดิสก์ มีความจุข้อมูล 1.44 เมกะไบต์
  Fdd.jpg
   ซีดีรอม (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่น ซีดีรอม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นซีดีเพลง ซีดีภาพยนต์ ซีดีรูปภาพ ฯลฯ มีความจุข้อมูล 650 - 800 เมกะไบต์
Cd_Rom.jpg
 วีจีเอ การ์ด (Mouse) หรือที่เรียกว่า การ์ดจอภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณภาพ  
 card-vga.jpg
   ซาวด์ การ์ด (Mouse) หรือที่เรียกว่า การ์ดเสียง ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณเสียง

Sound.jpg 

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้อง การ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ใน ทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตาม ต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบ ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็น ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจาก นั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

ที่มา http://www.comsimple.com

ความหมาย Hardware/Software

hardware และ software เป็นอย่างไร 
 


HARDWARE เมื่อเราแยกคำออกมาดูความหมาย Hard แปลว่า ของแข็ง ส่วน Ware แปลว่า ผลิตภัณท์ ดังนั้นเมื่อนำมารวมกัน Hardware จึงหมายถึง อุปกรณ์หรือผลิตภัณท์ที่เป็นของแข็ง ซึ่งได้แก่ ส่วนประกอบทุกชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คืออุปกรณ์ที่คุณจับต้องได้ ยกตัวอย่างเช่น จอภาพ ตัวเครื่อง คีย์บอร์ด เม้าส์ เครื่องพิมพ์ โมเด็ม รวมทั้งชิ้นส่วนภายในตัวเครื่อง



SOFTWARE เมื่อเราแยกคำออกมาดูความหมาย Soft แปลว่า นุ่มหรือนิ่ม ส่วน Ware แปลว่า ผลิตภัณฑ์ แต่ Software ไม่ได้หมายถึงผลิตภัณฑ์ ที่มีความนุ่ม แต่หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ ทั้งนี้ซอร์ฟแวร์จะต้องบันทึกในสื่อใดสื่อหนึ่ง เช่น Harddisk, Diskkette, CD เป็นต้น (บางครั้งผู้ใช้ก็เรียนซอร์ฟแวร์ว่า 'โปรแกรม') สำหรับประเภทของซอร์ฟแวร์ แบ่งได้ เป็น
1. แอปพลิเคชั่น (Application) คือ โปรแกรมการใช้งานต่าง ๆ เช่น MS Word, MS Excel, Photoshop เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้จะทำงานได้จะต้องติดตั้งภายในระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น DOS, Windows, Uniq, Linux เป็นต้น
2. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นซอร์ฟแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นล่ามระหว่างคนกับเครื่องคอมฯ ให้สามารถเข้าใจกัน และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด เช่น DOS, Windows 3.1, Windows 95, Windows 98 หรือ Windows 2000 เป็นต้น คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ จำเป็นจะต้องมีระบบปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ
จากที่ได้กล่าวถึง ระบบปฏิบัติการ ว่า " คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ จำเป็นจะต้องมีระบบปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ " ซึ่งส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็หนีไม่พ้น Windows สำหรับระบบปฏิบัติการยังสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
1. Network OS คือระบบปฏิบัติการด้านเครือข่าย ทำหน้าที่ในการจัดการ แบ่งปัน ควบคุม ทรัพยากรของระบบ ซึ่งได้แก่ Novell Netware, Unix, Windows NT Server, เป็นต้น
2. Stand Alone OS คือระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่อง PC ที่ใช้ส่วนตัวทั่วไป ระบบปฏิบัติการที่ใช้ได้แก่ DOS, Windows, Windows 2000 professional,เป็นต้น 

ที่มา http://learn.wattano.ac.th/TCH/pipat/hard_soft.htm

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

A Brief History of Computer



ประวัติคอมพิวเตอร์ภายใน 4 นาที

ประเภทของคอมพิวเตอร์


ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 7 ประเภทดังต่อไปนี้
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
File:Roadrunner supercomputer HiRes.jpg
2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
File:Honeywell-Bull DPS 7 Mainframe BWW March 1990.jpg

3.มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
File:Commodore64.jpg

5.โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
6.เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา
7.แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม
ที่มา http://variety.eduzones.com

ที่มาข้อมูล http://www.thaigoodview.com/node/124091

ความหมายของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ คือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นเรื่อยๆพัฒนาเป็นเครื่องมือที่ใช้เอื้ออำนวยความสะดวกต่อมนุษย์ ใช้สร้างสรรค์งานต่างๆ

ที่มาของรูปภาพ http://tanatcha31.wordpress.com